หากเราพูดถึงสภาพอากาศในประเทศไทยเชื่อว่าหลายคนก็ต้องนึก แดดที่ร้อนจัดและฝนที่หนักหน่วง เมื่อเราย้อนไปดูอาคารบ้านเรือนท้องถิ่นอย่างเรือนเครื่องผูกของชาวบ้าน หรือเรือนไทยจะมีอยู่สิ่งหนึ่งที่เหมือนกันคือ มีหลังคายกสูงเพื่อให้น้ำฝนระบายได้เร็ว ซึ่ง รองศาสตราจารย์แสงอรุณ รัตกสิกร (อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) เคยเขียนไว้ในหนังสือว่า เพราะในอดีตวัสดุมุงเช่นแผ่นกระเบื้องมีขนาดเล็ก จึงต้องทำองศาสูงให้น้ำฝนไหลได้ไว ไม่ให้น้ำย้อนเข้ามาทางหลังคา
หากพอมีวัสดุขนาดใหญ่ช่วยกันฝนได้ดี องศาหลังคาจะไม่ทำสูง อย่างที่ยุค50 -60ปีก่อน ที่มีวัสดุแผ่นสังกะสีเข้ามา หรือใช้แผ่นลอนต่างๆ ทำให้องศาของบ้านคนทั่วไปป้านได้มาก เป็นหลังคาที่ยกจั่วไม่สูง อย่างบ้านไม้ที่ยังพอเห็นได้ตามสวนหรือต่างจังหวัด
แม้จะใช้หลังคาป้าน ๆ แต่ทุกหลังก็ยังยื่นชายคาให้ยาวและยังมีหลังคาอีกอย่างที่อยู่โดยรอบอาคารนั่นก็คือ “หลังคากันสาด” ผมขอยกความหมายของหลังคากันสาดจากคำอธิบายของ รศ.สมใจ นิ่มเล็ก มาดังนี้ “กันสาด หรือ หลังคากันสาดหมายถึงหลังคาที่มีชายคาป้องกันฝนสาดถูกตัวอาคารเป็นอันดับแรก และป้องกันแดดส่องเป็นผลพลอยได้ เป็นหลังคาที่ต้องมีชายคาให้น้ำฝนไหลลง ชายคาคลุมโดยรอบ หรือคลุมเป็นส่วนมาก”
เรียกว่าการกันฝนเป็นสิ่งที่สำคัญมากและขาดไม่ได้ในบ้านเรือนประเทศไทย แม้เราจะใช้วัสดุยุคใหม่ที่หลังคาไม่ต้องชันมาก แต่ฝนเมืองได้แรงกว่าต่างประเทศ อย่างในยุโรป ทำให้มีการสาดเข้าทางตัวอาคารอยู่ดี คนไทยสมัยก่อนจึงทำชายคายื่นยาวหรือหลังคากันสาดโดยรอบเพื่อป้องกันฝน การอยู่ในบ้านตนเองแล้วต้องคอยระวังน้ำรั่ว คอยเช็ดน้ำที่สาดเข้ามาทำลายเครื่องเรือน คงไม่ใช่เรื่องน่าอภิรมย์
หากเราไปดูเรือนไทยจะพบว่าหลังคากันสาดเรือนไทยยื่นยาวมาก บางหลังยาวออกไปเกิน 1.50 ม. หรืออย่างเรือนไทยที่จุฬาฯ ที่ตำหนักกลางน้ำ มีกันสาดยาวออกไปถึง 2 ม. แล้วมีการตั้งไม้ค้ำยันรับ ช่วยป้องกันฝนสาดเข้ามาได้อย่างดี รวมถึงการป้องกันแสงแดดอันร้อนแรง
อาคารไทยในยุคถัดมา แม้จะไม่ใช่รูปทรงอย่างเรือนไทย เช่นตำหนักรูปทรงฝรั่งของเจ้านาย ในสมัยรัชกาลที่ 5 ที่มีกันสาดค่อนข้างสั้นไม่ยื่นยาวมาก แต่การออกแบบก็ยังมีความเหมาะสมกับบริบทประเทศไทย เพราะหากเราไปดูผังอาคารดีๆ เช่น ตำหนักใหญ่ วังบางขุนพรหม มีการออกแบบให้มีทางเดินรอบอาคาร แล้วห้องต่างๆอยู่ตรงกลาง ให้โถงทางเดินทำหน้าที่เป็นระเบียงรอบช่วยกันฝนกันแดดได้อย่างดี และผู้อยู่อาศัยไม่ได้รับความลำบากจากฝนสาดหรือแดดเข้า รวมถึงมีการใช้ระแนงไม้ที่หน้าต่าง ช่วยในการกรองแสงและช่วยกันความร้อนอีกชั้นหนึ่ง
อาคารโมเดิร์นยุคแรก หรืออาคารตึกแถวยุคแรก หากเราไปดูจะพบว่ามีการทำแผ่นคอนกรีตยื่นออกมา เพื่อทำหน้าที่เป็นหลังคากันสาด อย่างเช่นกลุ่มตึกที่ถนนราชดำเนิน จะเห็นได้ว่ามีการยื่นแผ่นกันสาดออกมาที่เหนือหน้าต่าง ช่วยป้องกันฝนที่จะสาดเข้าอาคาร และใช้หลังคาแบบ Parapet ที่ใช้องศาหลังคาน้อยและยื่นแผ่นคอนกรีตมาบังรอบ หากดูจากพื้นถนนจะนึกว่าเป็นหลังคากล่อง
อาคารในยุคต่อมาที่มักนิยมทำหลังคา Flat Slab ด้วยการเทพื้นคอนกรีตเป็นดาดฟ้า แม้ช่างจะมั่นใจเรื่องการกันฝน แต่ความร้อนของเมืองไทยยังคงฉกาจฉกรรจ์ จึงมึกนิยมติดตั้งระแนงหรือฟาสาดขึ้น จะทำด้วยไม้หรือเหล็กหรือแม้แต่แผ่นคอนกรีต ก็เพื่อการทอนแสงที่จะเข้ามาสู่ตัวอาคาร ในยุคหนึ่งการออกแบบฟาสาดอาคารด้วยระแนงแผ่นคอนกรีตต่างๆ เป็นที่นิยมอย่างมาก
แต่ทว่าในยุคไม่นานมานี้กลับมีความนิยมทำอาคารที่ไม่มีหลังคากันสาด ไม่มีแม้แต่ระแนง ตัวผมเองเคยสอบถามกับช่างอาวุโสท่านหนึ่ง ว่าการทำอาคารแบบนี้ไม่โดนฝนสาดเข้ามาหรือไม่ร้อนหรือ แกก็ตอบว่าแม้จะใช้หน้าต่างใช้กรอบวงกบดีเท่าไร อย่างไรก็มักจะมีฝนรั่วเข้ามาได้เสมอ อย่างอาคารที่แกเคยทำโดยไม่มีกันสาด แกมั่นใจว่าเอาอยู่ สุดท้ายรั่วยับและร้อนมาก แกก็แนะนำว่าควรจะใช้หลังคากันสาดโดยรอบจะดีกว่า นอกจากกันฝนแล้วยังช่วยป้องกันเรื่องแดดได้ดีด้วย
บ้านจัดสรรหรือตึกต่างๆปัจจุบันหลายหลังทำขึ้นมา เน้นดีไซน์สวยงาม แต่อาจลืมเรื่องสภาพแวดล้อมของประเทศเราไป หากท่านเจ้าของที่ซื้อไปอาจต้องคอยปวดหัว หาวิธีแก้ปัญหากันไป การติดตั้งกันสาดหรือระแนงให้เหมาะสมอาจต้องมีการเลือกหากันพอควร เพราะอาคารบางครั้งไม่สามารถรับน้ำหนักของที่จะมาติดตั้งเพิ่มได้มาก
ตัวเลือกกันสาดที่น่าสนใจ อย่างระบบกันสาดของ Alnex รุ่นต่าง ๆ ที่ใช้แผ่นโพลีคาร์บอเนตตัน หนา 3 มม. และโครงสร้างอลูมิเนียมเกรดพิเศษ เทียบเท่าอุตสาหกรรมยานยนต์ มีน้ำหนักเบากว่าเหล็กถึง 3 เท่า ยื่นได้สูงสุด 3 ม. โดยไม่ใช้เสาค้ำ ช่วยกันฝนสาด แดดส่องได้เป็นอย่างดี แต่หากเจ้าของบ้านหลายท่านต้องการ เพิ่มประสิทธิภาพในการกรองแดดและลดความร้อนเพิ่มเติม ทาง Alnex มีการผสมผสานระแนงอลูมิเนียมเข้ามาช่วยป้องกันความร้อนและส่งเสริมไปในทางเดียวกันกับรูปแบบกันสาด ให้ความรู้สึกทันสมัย ดูบางเบาแต่แข็งแรง เหมือนหลังคากันสาดสมัยก่อนที่มีการใช้ระแนงไม้ที่หน้าต่างช่วยอีกทาง ในการกันแดดกันฝน
เช่นกันสาดรุ่น Duplex ของ Alnex สามารถนำระแนงอลูมิเนียม รุ่น T4 ที่เป็นทรงจัตุรัส หรือ F5 ที่เป็นทรงผืนผ้า มาใช้ประกอบได้ โดยระยะซี่ห่างได้ 5 ซม. ซึ่งระแนงอลูมิเนียมจาก Alnex มีความทนทานอย่างมากต่อแสงแดดและยูวีของบ้านเรา
ระแนงอลูมิเนียมของ Alnex ยังสามารถนำไปออกแบบติดตั้งเป็นฟาสาดใช้ตกแต่งอาคารภายนอก หรือ รั้วรอบพื้นที่ มีวิธีการติดตั้งที่ง่าย และรูปทรงระแนงหลากหลายทรง ช่วยให้เกิดความเหมาะสมตามความต้องการของผู้ออกแบบได้ดี รวมถึงผลิตต่อเส้นได้ยาวถึง 7 ม. ทนต่อการตัด งัดแงะ นอกจากออกแบบเป็นระแนงช่วยกรองแดด แล้วยังออกแบบให้ช่วยป้องกันการโจรกรรมได้ด้วย
หากท่านใดสนใจผลิตภัณฑ์อลูมิเนียมของทาง Alnex สามารถติดต่อได้ที่ 02-136-8899 , 081-780-9469 , 063-373-4488 , 098-294-6959